ข่าวนวัตกรรมเทคโนโลยี

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 แล้ว สำหรับการจัดงาน “ถนนเทคโนโลยี” โดยในปีนี้ได้ตอกย้ำแนวคิด “สังคมอุดมปัญญา” ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้สิ่งใหม่ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม พร้อมจัดประกวดนวัตกรรมการสำรวจทางภูมิศาสตร์ (gis) และการแข่งขันหุ่นยนต์ abu robot contest ชิงแชมป์ประเทศไทย 2555 เฟ้นหาตัวแทนเยาวชนไทยไปชิงแชมป์หุ่นยนต์นานาชาติ ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง

นายสุระ เกนทะนะศิล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายงานวิศวกรรม บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า งานถนนเทคโนโลยี (technology street 2012) ที่ทาง บมจ. อสมท. ได้จัดขึ้น ด้วยเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริม และพัฒนาเยาวชนไทยด้วยการส่งเสริมความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศ และนับเป็นหนึ่งในกิจกรรม csr ขององค์กรที่เปิดเวทีให้เยาวชนได้เรียนรู้เทคโนโลยีและระบบกลไกด้านวิศวกรรมต่างๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

______________________________________________________
สนช.เปิดเวทีชิงสุดยอดการออกแบบนวัตกรรม
ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ สนช.กระตุ้นต่อยอดธุรกิจด้วยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จัดประกวดรางวัลออกแบบนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 5 แจงเกณฑ์พิจาณาจากทั้งด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ และบุคคล พร้อมจัดพิธีมอบรางวัลในวันที่ 5 ต.ค.นี้

ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. เปิดเผยว่า ทาง สนช. ได้จัดประกวดรางวัลออกแบบเชิงนวัตกรรม ประจำปี 2555 ซึ่งเป็นครั้งที่ 5 ต่อเนื่องกัน เพื่อสร้างให้เกิดการค้นคิดต่อยอดสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (creative industries) โดยจัดประกวดออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการออกแบบอาหาร ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

http://paidoo.net/tag/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5

http://www.thairath.co.th/content/oversea/273496

http://www.thairath.co.th/



เทคโนฯลาดกระบัง โชว์นวัตกรรมหุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก
วันที่ 19 มิถุนายน รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก คือ ชงโคเป็นหุ่นยนต์อุบาสก และแคแสดเป็นหุ่นยนต์นางไม้ จากผลงานการสร้างสรรค์ จากอาจารย์นักวิจัยพร้อมด้วยนักศึกษา จากความร่วมมือด้างเทคโนโลยีและการออกแบบ จากวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติเขต สู้รักษา โดยหุ่นยนตร์ทั้ง 2 ตัว ถูกควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ชื่อระบบควบคุมแบบชาญฉลาด

หุ่นยนต์ตัวแรก “ชงโค” ชื่อนี้ มาจากดอกชงโคซึ่งเป็นดอกไม้ไทยสัญลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยหุ่นยนต์ออกแบบลักษณะภายนอกเป็นรูปบาตรพระสีดำ 2.8 x 2.8 x 2.5 เมตร และเมื่อหุ่นยนต์ทำงานรูปบาตรก็จะบานออกเป็นกลีบบัวมีทั้งหมด 8 กลีบ ขนาด 6 x 6 x 2.5 เมตร โดยเมื่อกลีบที่บานออก จะปรากฎปรากฏเป็นหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายมนุษ์กำลังนั่งคุกเข่าอยู่ โดยหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถหยิบชุดสังฆทาน นำมาถวายพระที่อยู่ข้างหน้าได้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งหุ่นยนต์นี้ยังมีระบบเก็บภาพและถ่ายทอดความประทับใจให้คนทั่วโลกได้รับรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะถ่ายโอนข้อมูลภาพนั้นไปยัง อีเมล หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้ทันที

“ส่วนหุ่นยนต์ตัวที่ 2 “แคแสด” ได้รับออกแบบเป็นหุ่นยนต์นางไม้ ขนาด 5×5 เมตร และสูง3 ที่มีความสามารถในการลำเลียงของถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยหุ่นยนต์ ทั้งสองตัวนี้ ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์นวัตกรรมในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการสร้างหุ่นยนต์ แต่เป็นกระบวนการฝึกฝนให้นักศึกษาวิศวกรรมคนรุ่นใหม่มีจินตนาการ นำองค์ความรู้ภาคทฤษฎีในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้สู่ความเป็นจริงด้วยหลักวิชาทางวิศวกรรมสามารถ รวมทั้งนำมาหลอมรวมกับวัฒนธรรมประเพณีและ”การให้” ของบรรพบุรุษไทย ซึ่งหุ่นยนตร์คู่นี้ ใช้เวลาการประดิษฐ์ กว่า 2 ปี เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในระดับสากลของนักศึกษา สจล. ที่อาสาเข้ามาร่วมโครงการสร้างสรรค์หุ่นยนต์ตักบาตร ตลอดจนยังสะท้อนคำว่า “ใฝ่รู้ สู้งาน” ซึ่งเป็นสโกแกนที่สะท้อนความเป็น “เด็กลาดกระบัง” ดีที่สุด” รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กล่าว

ด้านรศ.ดร.กิตติ ตีรเศรษฐ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า การจัดงาน เปิดตัวหุ่นยนต์และตักบาตรนวัตกรรม…ฉลองพุทธชยันตี โดยกิจกรรมการตักบาตรลักษณะนี้ได้จัดมาเป็นปีที่ 4 แล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณอันดีและมงคลของการเริ่มต้นชีวิตการศึกษาที่ดีงามของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในสถาบัน แต่ในปีนี้ทางสถาบันสร้างความแปลกใหม่ ภายใต้แนวคิด “การเปิดตัวหุ่นยนต์และตักบาตรนวัตกรรม…ฉลองพุทธชยันตี” จากผลงานการประดิษฐ์ หุ่นยนตร์จากอาจารย์นักวิจัย พร้อมด้วยนักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิด “สังคมนวัตกรรม” อย่างไรก็ตาม สถาบันไม่เพียงมุ่งเน้นการบ่มเพาะและผลิตนักศึกษาให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในด้านวิชาการเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เรายังให้ความสำคัญกับคุณธรรมในจิตใจและความเป็นผู้นำควบคู่ไปด้วย ให้คนรุ่นใหม่เขาพร้อมที่จะออกไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โดยการตักบาตรครั้งนี้ มีนักศึกษา กว่า 10,000 ร่วมงาน อีกทั้งอาหารตักบาตรในครั้งนี้นั้นจะนำไปถวายคณะสงฆ์ 286 วัด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา อีกด้วย

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340084901

ใส่ความเห็น